ธอส. เปิด มาตรการช่วยเหลือ NPL (M21) นานสูงสุด 2 ปี

ธอส. เปิด มาตรการช่วยเหลือ NPL (M21) นานสูงสุด 2 ปี

ธอส. ทำการประกาศเปิด มาตรการช่วยเหลือ สำหรับลูกค้าที่มีสถานะ NPL (M21) โดยให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษและเงินงวดผ่อนชำระต่ำ สูงสุด 2 ปี (27 มิ.ย. 2565) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ประกาศ มาตรการช่วยเหลือ ที่ 21 [M21] สำหรับลูกหนี้สถานะ NPL หรือ ลูกค้าที่มีสถานะเป็น NPL ที่อยู่ระหว่างการใช้มาตรการช่วยเหลือ หรือ ลูกค้าที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคาร ที่ยังได้รับผลกระทบด้านรายได้จากปัญหา COVID-19 หรือภาวะเศรษฐกิจ ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยพิเศษและเงินงวดผ่อนชำระต่ำเป็นระยะเวลาสูงสุด 2 ปี หรือสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2567 ผ่อนเริ่มต้นเดือนที่ 1-8 เพียง 1,000 บาท ดอกเบี้ย 0% ต่อปี (ตัดชำระเงินต้นทั้งหมด) ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการผ่าน Application : GHB ALL ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน – 30 ธันวาคม 2565

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 

เปิดเผยว่า เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับลูกค้ากลุ่มเปราะบางทางด้านรายได้ที่มีสถานะเป็น NPL ที่ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 หรือภาวะเศรษฐกิจ ให้มีภาระในการผ่อนชำระลดลง ธอส. จึงได้จัดทำ มาตรการที่ 21 [M 21] สำหรับช่วยเหลือลูกค้าสถานะ NPL หรือ ลูกค้าที่มีสถานะเป็น NPL ที่อยู่ระหว่างการใช้มาตรการช่วยเหลือ หรือ ลูกค้าที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคาร

ให้สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยพิเศษและเงินงวดผ่อนชำระต่ำเป็นระยะเวลานานสูงสุด 2 ปี หรือตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 – วันที่ 31 ธันวาคม 2567 แบ่งความช่วยเหลือเป็น

– เดือนที่ 1-8 ผ่อนชำระเพียงงวดละ 1,000 บาท คิดดอกเบี้ยเท่ากับ 0% ต่อปี (ตัดชำระเงินต้นทั้งหมด)

– เดือนที่ 9-16 คิดเงินงวดจากอัตราดอกเบี้ย 1.99% ต่อปี (กรณีเงินต้นคงเหลือ 1 ล้านบาท เงินงวด = 1,800 บาท)

– เดือนที่ 17-20 คิดเงินงวดจากอัตราดอกเบี้ย 3.90% ต่อปี (กรณีเงินต้นคงเหลือ 1 ล้านบาท เงินงวด = 3,500 บาท)

– เดือนที่ 21- 24 คิดเงินงวดจากอัตราดอกเบี้ย MRR-2% ต่อปี (กรณีเงินต้นคงเหลือ 1 ล้านบาท เงินงวด = 3,700 บาท)

**(ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ธอส. เท่ากับ 6.150% ต่อปี)

กรณีลูกค้าชำระเงินงวดเกินกว่าจำนวนที่ธนาคารกำหนดจะไปตัดดอกเบี้ยค้างชำระของลูกค้าต่อไป (ถ้ามี)

โดยมาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป (มาตรการจะมีผลในเดือนถัดจากเดือนที่ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ)

สำหรับลูกค้าที่มีสิทธิ์เข้ามาตรการ M 21 

คือ ลูกค้าที่กู้เงินกับธนาคารมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และมีสถานะ NPL (ค้างชำระเงินงวดติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน) หรือ ลูกค้าที่มีสถานะเป็น NPL และอยู่ระหว่างการใช้มาตรการช่วยเหลือของธนาคาร หรืออยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร (จะพ้นสิทธิตามมาตรการเดิม เมื่อเปลี่ยนมาใช้มาตรการนี้) และต้องเป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จากการแพร่ระบาดของ COVID-19

ทั้งนี้ ลูกค้าสถานะ NPL สามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการผ่าน Application : GHB ALL และสาขาธนาคารทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน – 31 ธันวาคม 2565 โดยส่งหลักฐานการได้รับผลกระทบทางรายได้จากการประกอบอาชีพ/ธุรกิจ/การค้า เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เช่น หนังสือรับรองการลดวัน/เวลา/เงินเดือน/ค่าจ้าง หรือถูกเลิกจ้างจากหน่วยงานต้นสังกัด/นายจ้าง เป็นต้น ให้ธนาคารพิจารณาด้วยการ Upload ผ่านทาง Application : GHB ALL กรณีที่ลูกค้าไม่มีสมาร์ทโฟนสามารถกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ได้ที่สาขาธนาคารทั่วประเทศ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือติดตามข้อมูลข่าวสารของธนาคารได้ที่ G H Bank Call Center โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th และ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์

​คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินสนับสนุนหรือประโยชน์ ที่ประชาชนได้รับจากมาตรการหรือโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล อันเนื่องมาจากการเยียวยาและฟื้นฟูผลกระทบจาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) รวม 4 โครงการ ได้แก่ โครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” “โครงการเราเที่ยวด้วยกัน” “โครงการคนละครึ่ง” และ “โครงการกำลังใจ”

นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินสนับสนุนและประโยชน์อื่นใดที่ประชาชนได้รับในปีภาษี 2563 จากมาตรการหรือโครงการที่ประชาชนได้รับจากรัฐบาลรวม 4 มาตรการ ประกอบด้วย

โครงการ“เราไม่ทิ้งกัน” ชดเชยรายได้ให้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบหรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ ของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)

“โครงการเราเที่ยวด้วยกัน”

“โครงการกำลังใจ”

“โครงการคนละครึ่ง”

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป